นางสาวอัมพร บุญมาลี

นางสาวอัมพร  บุญมาลี

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
นางสาวอัมพร บุญมาลี
ชื่อเล่น ส้มโอ
อายุ 23 ปี
เบอร์โทร 0806564996
ภูมิลำเนาเดิม 34/1 ต.โนนโพธิ์ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2542-2544 จบมัธยมตอนต้นโรงเรียนนายมวิทยาคาร ต.โนนโพธิ์ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
พ.ศ. 2544-2547 จบมัธยมตอนปลายโรงเรียนนายมวิทยาคาร ต.โนนโพธิ์ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
พ.ศ. 2547-2552 กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี
คบ. 5 โปรแกรมวิชา การศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์
รหัสนักศึกษา 484186022

ตัวฉันเอง

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ระเบียบปฏิบัติ

1. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
2. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องแต่งการตั้งแต่เส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด
4. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด
5. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องไปโรงเรียนฝึกประสบการณ์ก่อนเวลาโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที และกลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย
6. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่โรงเรียนจัดไว้ให้
7. การขออนุญาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
8. ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาอนุญาตจากอาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนตามระบุในสัญญาที่ทำไว้กับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
9. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มีสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
10. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงาน ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือ ตัวนักศึกษาเอง
11. นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์
12. นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์ในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น



ประวัติโรงเรียนบ้านจอมบึง (วาปีพร้อมประชาศึกษา)


โรงเรียนนี้เดิมชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลจอมบึง (วัดจอมบึง) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๓ โดยมีนายผิน เพียรศิริ ปลัดกิ่งอำเภอ และนายบุญเพ็ง พุฒิเครือ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอประจำกิ่งอำเภอ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง มีนายหรีด ทองลิ่ม เป็นครูใหญ่ และนายยุ้ย พงษ์ทวี เป็นครูผู้สอน สภาพโรงเรียนเป็นอาคารชั่วคราว เสาไม้จริง เครื่องบนไม้ไผ่หลังคามุงแฝก ยาว ๒๐ เมตร กว้าง ๑๒ เมตร ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๔ อยู่ ๑๐ ปี อาคารเรียนก็ชำรุดทรุดโทรมลง

ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เจ้าอธิการคูณ ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดจอมบึง ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้น นายหรีด ทองลิ่มครูใหญ่ได้ขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเพื่อขอใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เรียน

ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านพระครูวาปีวรคุณ(คูณ ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดจอมบึง ได้สร้างโรงเรียนถาวร โดยได้ขอความร่วมมือจากประชาชน พระภิกษุ สามเณร จัดหาอุปกรณ์ในการก่อสร้างใช้งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) มีนายภมร ศิริเอก เป็นครูใหญ่

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงิน ก.ศ.ช. ให้มาสมทบทุนในการสร้าง เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน) เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๗ สร้างตามแปลนของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นอาคารใต้ถุนสูงขนาด ๙ เมตร ยาว ๔๕ เมตร ขนาดกว้าง ๖ x ๙ ตารางเมตร ๗ ห้องเรียน มีมุขกลาง
การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๙๗ แต่ชั้นล่างยังไม่ได้เทคอนกรีต จึงของบประมาณจากทางราชการสมทบอีก ๘๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) ได้ทาสีและเทพื้นคอนกรีตชั้นล่าง ขณะนั้นมี นายประสาท อึ้งโพธิ์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๙ เปิดทำการสอนชั้นป.๑-๔ มีแปดห้องเรียน มีครู ๘ คน วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๑ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงได้เปิดการสอนชั้นเด็กเล็ก ได้ขออนุญาตใช้ห้องเรียน และส่งนักศึกษาฝึกสอนมาช่วยสอน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โรงเรียนร่วมกับวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง ได้สร้างบ้านพักครู ๑ หลัง งบประมาณ ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

ภาพกิจกรรมโครงการ

ดีใจจังสำเร็จแล้ว

คุณแม่ของนักศึกษาเอกปฐมวัยเองค่ะ