นางสาวอัมพร บุญมาลี

นางสาวอัมพร  บุญมาลี

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
นางสาวอัมพร บุญมาลี
ชื่อเล่น ส้มโอ
อายุ 23 ปี
เบอร์โทร 0806564996
ภูมิลำเนาเดิม 34/1 ต.โนนโพธิ์ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2542-2544 จบมัธยมตอนต้นโรงเรียนนายมวิทยาคาร ต.โนนโพธิ์ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
พ.ศ. 2544-2547 จบมัธยมตอนปลายโรงเรียนนายมวิทยาคาร ต.โนนโพธิ์ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
พ.ศ. 2547-2552 กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี
คบ. 5 โปรแกรมวิชา การศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์
รหัสนักศึกษา 484186022

ตัวฉันเอง

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ปฐมวัย อนุบาล 2

แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ อนุบาลปีที่ 2
สัปดาห์ที่ 1 หน่วย เมืองไทยผลไม้มากมี 25/พ.ค./52
สาระการเรียนรู้
การเคลื่อนไหวร่างกายตามสัญญาณ และตามข้อตกลงได้ถูกต้อง แสดงถึงความพร้อมด้านสติปัญญาในการจดจำคำข้อที่กำหนด
จุดประสงค์
1.เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสนุกสนาน
2.ฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
3.เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
4.เด็กระมัดระวังความปลอดภัยให้ตนเองและผู้อื่นในขณะเคลื่อนไหวร่างกายได้
ประสบการณ์สำคัญ
พัฒนาการด้านร่างกาย
-เคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
- การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
- การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน

พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ
-แสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขัน และเรื่องราว/ เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่างๆ
-การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
-การเล่นเครื่องดนตรีง่าย ๆ เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ
-การร้องเพลง
พัฒนาการด้านสังคม
-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
-การแก้ปัญหาในการเล่น
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่ายและรูปต่างๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
-การแสดงความรู้ด้วยคำพูด
-การเริ่มต้นและการหยุดการกระทำโดยสัญญาณ

วิธีดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมพื้นฐาน
1. ครูสร้างข้อตกลงกับเด็กดังนี้
-ครูเคาะสัญญาณช้าให้เด็กเคลื่อนไหวช้าๆ
-ครูเคาะจังหวะเร็วให้เด็กเคลื่อนไหวเร็วๆ
-ถ้าครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง ติดกันให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที
2.ให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายไปทั่วๆบริเวณอย่างอิสระตามจังหวะที่ครูเคาะ โดยเน้นทิศทาง ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง เมื่อได้ยินสัญญาณหยุด ให้หยุดท่านั้น ทันที
กิจกรรมสัมพันธ์ เนื้อหา
1.ครูและเด็กกำหนดข้อตกลงร่วมกันว่าถ้าครูพูดว่า เนื้อสัตว์ ให้เด็ก ๆ ปรบมือ 2 ครั้ง ถ้าพูดว่า นมให้เด็กกระโดด 3 ครั้ง ถ้าครูพูดว่า ผลไม้ ให้เด็กนั่งลงกับพื้น
2.ให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงใน
ข้อ2
3.ปฏิบัติตามข้อ 3 ซ้ำอีกครั้ง ในขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมครูคอยดุแลและเน้นย้ำการระมัดระวังความปลอดภัย
4.พักผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยการนั่งลง เปลี่ยนกันนวดขาซึ่งกันและกันเบาๆ
สื่อ / อุปกรณ์
1.เครื่องเคาะจังหวะ
การประเมินผล
สังเกต
1การเคลื่อนไหว 2. การปฏิบัติตามคำสั่ง




แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ อนุบาลปีที่ 2
สัปดาห์ที่ 1 หน่วย เมืองไทยผลไม้มากมี 25/พ.ค./52
ผลไม้มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ลักษณะของผลไม้ภายหรือภายนอกจะแตกต่างกัน
จุดประสงค์
1.เด็กร่วมร้องเพลงผลไม้ได้อย่างสนุกสนาน
2. ร่วมสนทนากับครูได้
3. เด็กมีทักษะการสังเกตลักษณะของผลไม้ประเภทต่าง ๆ ได้
4.บอกชื่อผลไม้ที่รู้จักได้
5.เด็กสามารถรับรู้และบอกค่าจำนวน 1 ได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1. การท่องคำคล้องจอง
2. การร่วมสนทนา ซักถาม
3. การสังเกตลักษณะของผลไม้
4. ชื่อผลไม้
ประสบการณ์สำคัญ
พัฒนาการด้านร่างกาย
-เคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
- การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
- การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน
พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ
-แสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขัน และเรื่องราว/ เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่างๆ
พัฒนาการด้านสังคม
-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
-การมีโอกาสได้รับรู้ความรูสึก ความสนใจ และความต้องการของตนเอง
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่ายและรูปต่างๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
-การแสดงความรู้ด้วยคำพูด
-การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ


วิธีดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง จ้ำจี้ผลไม้ ดังนี้ ( การเคลื่อนไหวภาษา ประสบการณ์ชีวิต )
จ้ำจี้ผลไม้ แตงไทยแตงกวา
ขนุนน้อยหน่า พุทรามังคุด
ละมุดลำไย มะเฟืองมะไฟ
มะกรูดมะนาว มะพร้าวส้มโอ
ฟักแฟงแตงโม ไชโยโห่หิ้ว
ขั้นสอน
2. ครูสนทนาเกี่ยวกับคำคล้องจอง จ้ำจี้ผลไม้ โดยใช้คำถามดังนี้
-เด็ก ๆ บอกชื่อผลไม้ที่เด็ก ๆ รู้จักให้ครูฟัง
3. ครูนำผลไม้ที่เป็นของจริงมาให้เด็กดู เช่น เงาะ มังคุด แอ๊ปเปิ้ล ฝรั่ง แตงโม โดยชูให้เด็กเห็นทีละชนิด
4.ครูหาอาสาสมัคร 3 – 5 คน ให้บอกชื่อผลไม้ที่เด็กรู้จัก
5. ร่วมกันสนทนาการรู้ค่าจำนวน 1 จากกิจกรรมต่อไปนี้
- ดูให้ดี ผลไม้ที่ครุวางไว้แต่ละชนิด มีจำนวนกี่ผล ( ครูนำเงาะ มังคุด ฝรั่ง มาวางไว้ชนิดละ 1 ผล โดยวางห่างกันพอสมควรให้เด็กสังเกต )
- ตอบได้หรือยังว่าผลไม้แต่ละชนิดมีจำนวนเท่าไร (ตอบ 1 ผล)
6. ครูอาสาสมัคร 1 – 2 คน ออกมาหยิบผลไม้จำนวน 1 แสดงให้เพื่อนดู เพื่อน ๆ ที่เหลือคอยสังเกตความถูกต้อง
7. ครูให้เด็ก ๆ ไปหยิบสิ่งของในห้องเรียนที่มีจำนวน 1 ให้ครูดู เมื่อเด็กคนใดหยิบสิ่งของจำนวน 1 มาให้ครูดูแล้วถูกต้องครูให้เด็กเก็บสิ่งของเข้าที่ให้เรียบร้อย
ขั้นสรุป
8. เด็กและครูสรุปว่าสิ่งของใดที่มีจำนวน 1พร้อมทั้งท่องคำคล้องจองร่วมกันอีกครั้ง
สื่อ / อุปกรณ์
1ผลไม้ชนิดต่าง ๆ 2. สิ่งของในห้อง 3. เพลง
การประเมินผล
สังเกต
1. การมีส่วนร่วม 2. การตอบคำถาม 3.การทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม




แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง อนุบาลปีที่ 2
สัปดาห์ที่ 1 หน่วย เมืองไทยผลไม้มากมี 25/พ.ค./52
สาระสำคัญ
การเล่นที่มีการระมัดระวังความปลอดภัยให้ตนเองและผู้อื่นจะไม่ทำให้ได้รับอุบัติเหตุ
จุดประสงค์
1.เด็กเล่นเครื่องเล่นสนามและเล่นอิสระได้อย่างปลอดภัย
2. เด็กสามารถเล่นเกมผู้นำผู้ตามได้
3. อยู่ร่วมกับครุและเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนได้อย่างมีความสุข
4. ปฏิบัติตนเป็นผู้นำผู้ตามที่ดีได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1. การดูแลระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
2. การอยู่ร่วมกัน
ประสบการณ์สำคัญ
พัฒนาการด้านร่างกาย
-เคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
- การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
- การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน
พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ
-แสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขัน และเรื่องราว/ เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่างๆ
พัฒนาการด้านสังคม
-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
-การมีโอกาสได้รับรู้ความรูสึก ความสนใจ และความต้องการของตนเอง
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่ายและรูปต่างๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
-การแสดงความรู้ด้วยคำพูด
-การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

วิธีดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ให้เด็กอบอุ่นร่างกายดังนี้
1.1 วิ่งอยู่กับที่
1.2 หมุนเอว ซ้าย – ขวา
1.3 หมุนข้อเท้าสะบัดข้อมือ
ขั้นสอน
2. ครูอธิบายวิธีการเล่นเกมผู้นำผู้ตาม ดังนี้
2.1 เด็กที่นั่งบนเก้าอี้เป็นผู้ออกคำสั่งให้เด็กที่นั่งเป็นวงกลมทำตาม เช่น หัวเราะ ร้องไห้ ยิ้ม เท้าเอว กางแขน
2.2 เมื่อเด็กเล่นเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ให้เด็กคนอื่นผลัดเปลี่ยนกันนั่งบนเก้าอี้ทำหน้าที่เป็นผู้ออกคำสั่งบ้าง
3.ให้เด็กเล่นอิสระประมาณ 3- 5นาทีที่สนามเด็กเล่น
4. ครูคอยดูแลและสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับความปลอดภัย
5. พาเด็กไปทำความสะอาดร่างกาย ล้างมือให้สะอาดและเข้าห้องเรียน

สื่อ / อุปกรณ์
1. เก้าอี้ 2. เครื่องเล่นสนาม

การประเมินผล
สังเกต
1. การมีส่วนร่วม 2. พฤติกรรมการเล่น




แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา อนุบาลปีที่ 2
สัปดาห์ที่ 1 หน่วย เมืองไทยผลไม้มากมี 25/พ.ค./52
สาระสำคัญ
การเกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย ต้องอาศัยการคาดคะเน การสังเกต และร่วมปรึกษาหารือกับเพื่อน จึงจะทำให้การเล่นสำเร็จ
จุดประสงค์
1.เล่นเกมหาความสัมพันธ์อุปมาอุปไมยได้
2.เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันได้
3. เก็บเกมเข้าที่ได้อย่างเรียบร้อย
4. มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1. การสังเกต
2. การเล่นเกมหาความสัมพันธ์อุปมาอุปไมย
3.การคาดคะเน
ประสบการณ์สำคัญ
พัฒนาการด้านร่างกาย
-การต่อของ บรรจุ เท และแยกชิ้นส่วน
- การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
- การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน
พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ
-แสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขัน และเรื่องราว/ เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่างๆ
-การเล่นรายบุคคล การเล่นเป็นกลุ่ม
พัฒนาการด้านสังคม
-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
-การมีโอกาสได้รับรู้ความรูสึก ความสนใจ และความต้องการของตนเอง
-การแก้ปัญหาในการเล่น
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่ายและรูปต่างๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
-การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม




แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2
หน่วย 1 เมืองไทยผลไม้มากมี 25/พ.ค. /52

จุดประสงค์
1. เด็กสามารถทำกิจกรรมได้อย่างน้อย 3 กิจกรรม
2. เด็กสามารถถ่ายทอดความคิดและจินตนาการได้
3. เด็กสามารถบอกชื่อผลงานของตนเองได้
4. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
5. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์

สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรรู้
- การวาดภาพด้วยสีเทียน
- การวาดภาพด้วยสีน้ำ
- การปั้น
- การฉีกปะ
- การพิมพ์ภาพจากก้านกล้วย
ประสบการสำคัญ
พัฒนาด้านร่างกาย
- การเขียนภาพและการเล่นสี
- การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆด้วยดินเหนียว ดินน้ำมัน แท่งไม้ เศษวัสดุอื่นๆ
พัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ
- การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
- การเล่นอิสระ
- การเล่นรายบุคคลการเล่นเป็นกลุ่ม
พัฒนาด้านสังคม
- การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- การวางแผนตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติ
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นผู้อื่น
- แก้ปัญหาในการเล่น
พัฒนาด้านสติปัญญา
- การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุ
- การรับรู้และการแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุของเล่น และผลงาน
- การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

กิจกรรม
1. ครูและเด็กเตรียมโต๊ะ 5 โต๊ะและอุปกรณ์พร้อมกับแนะนำการทำกิจกรรมดังนี้
โต๊ะที่ 1 การวาดภาพด้วยสีเทียน
โต๊ะที่ 2 การวาดภาพด้วยสีน้ำ
โต๊ะที่ 3 การปั้น
โต๊ะที่ 4 การฉีกปะ
โต๊ะที่ 5 การพิมพ์ภาพจากก้านกล้วย
2. ครูสาธิตกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากก้านกล้วยดังนี้
2.1 ครูแจกกระดาษให้กับเด็ก ๆ คนละ 1 แผ่น
2.3 ครูสาธิตวิธีการพิมพ์ภาพจากก้านกล้วยให้เด็ดดู
2.4 ครูให้เด็กทำกิจกรรมการผับปลาหมึกจากกระดาษตามอิสระ
3. ครูแนะนำกิจกรรมต่างๆและสร้างข้อตกลงร่วมกับเด็กดังนี้
3.1 เด็กๆต้องทำกิจกรรมพิมพ์ภาพจากก้านกล้วยตามใจชอบและเลือกทำกิจกรรมอื่นไดอีก 2 อย่าง
3.2 เด็กๆทุกคนต้องไม่ทำสีหกเลอะเทอะ
3.3 เด็กๆต้องไม่แย่งกันทำ
3.4 เด็กๆจะต้องไม่นำพู่กันมาจุ่มสีรวมกัน
3.5 เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมเสร็จจะต้องนำไปตากให้แห้ง
4. ให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอิสระ
5. ครูดูแลเด็กอย่างทั่วถึงและกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆอย่างหลากหลายและครูตรวจผลงานเด็กโดยบันทึกคำพูดชื่อ ว/ด/ป แล้วให้เด็กไปเก็บผลงานของตนเองเมื่อทำกิจกรรมครบตามข้อตกลงแล้วให้เล่นเสรี
6. เมื่อใกล้หมดเวลาครูบอกให้เด็กๆช่วยกันเก็บอุปกรณ์และล้างมือ
7. ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการทำกิจกรรมและสิ่งที่เด็กเรียนรู้

สื่อการเรียนการสอน
- กระดาษสี กาว สีน้ำ สีเทียน พู่กัน ดินน้ำมัน


ประเมินผล
- การทำกิจกรรมของเด็ก
- ความมีระเบียบวินัยของเด็ก
- ความมีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน




แผนการจัดกิจกรรมเสรี ชั้นอนุบาลปีที่ 2
หน่วย 1 เมืองไทยผลไม้มากมี 25/พ.ค./52

จุดประสงค์
1. เด็กร่าเริงแจ่มใสอารมณ์ได้
2. เล่นเลียนแบบบทบาทสมมุติตามมุมได้
3. ช่วยเหลือและแบ่งปันสิ่งของได้
4. เก็บของเล่นของใช้ได้

สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรรู้
- การช่วยเหลือแบ่งปัน
- การเก็บของเล่นของใช้
ประสบการณ์สำคัญ
พัฒนาการด้านร่างกาย
- การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
- การชื่นชมและการสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
พัฒนาการด้านสังคม
- การทำงานร่วมกับผู้อื่น
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
- แก้ปัญหาในการเล่น
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- การแสดดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุ
- การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

กิจกรรม
1. ทบทวนมุมประสบการณ์ต่างๆ และมารยาทในการเล่นร่วมกัน
2. ให้เด็กเล่นอิสระที่มุมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนเช่น มุมบ้าน มุมร้านค้า มุมหมอ มุมนิทาน ฯลฯ และเล่นของเล่น
3. ครูคอยดูแลและสังเกตพฤติกรรมการเล่น เกี่ยวกับการแสดงบทบาทสมมุติในมุม และการแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปัน
4. เตือนก่อนหมดเวลาครูคอยสังเกตพฤติกรรม ทยอยเก็บของเล่น
5. เก็บวัสดุ อุปกรณ์ ๆ เข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียนการสอน
- ของเล่นในห้อง
- มุมต่าง ๆ ในห้องเรียน

ประเมินผล
- การทำกิจกรรมของเด็ก
- ความมีระเบียบวินัยของเด็ก
- ความมีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น



ประวัติโรงเรียนบ้านจอมบึง (วาปีพร้อมประชาศึกษา)


โรงเรียนนี้เดิมชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลจอมบึง (วัดจอมบึง) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๓ โดยมีนายผิน เพียรศิริ ปลัดกิ่งอำเภอ และนายบุญเพ็ง พุฒิเครือ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอประจำกิ่งอำเภอ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง มีนายหรีด ทองลิ่ม เป็นครูใหญ่ และนายยุ้ย พงษ์ทวี เป็นครูผู้สอน สภาพโรงเรียนเป็นอาคารชั่วคราว เสาไม้จริง เครื่องบนไม้ไผ่หลังคามุงแฝก ยาว ๒๐ เมตร กว้าง ๑๒ เมตร ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๔ อยู่ ๑๐ ปี อาคารเรียนก็ชำรุดทรุดโทรมลง

ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เจ้าอธิการคูณ ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดจอมบึง ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้น นายหรีด ทองลิ่มครูใหญ่ได้ขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเพื่อขอใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เรียน

ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านพระครูวาปีวรคุณ(คูณ ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดจอมบึง ได้สร้างโรงเรียนถาวร โดยได้ขอความร่วมมือจากประชาชน พระภิกษุ สามเณร จัดหาอุปกรณ์ในการก่อสร้างใช้งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) มีนายภมร ศิริเอก เป็นครูใหญ่

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงิน ก.ศ.ช. ให้มาสมทบทุนในการสร้าง เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน) เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๗ สร้างตามแปลนของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นอาคารใต้ถุนสูงขนาด ๙ เมตร ยาว ๔๕ เมตร ขนาดกว้าง ๖ x ๙ ตารางเมตร ๗ ห้องเรียน มีมุขกลาง
การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๙๗ แต่ชั้นล่างยังไม่ได้เทคอนกรีต จึงของบประมาณจากทางราชการสมทบอีก ๘๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) ได้ทาสีและเทพื้นคอนกรีตชั้นล่าง ขณะนั้นมี นายประสาท อึ้งโพธิ์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๙ เปิดทำการสอนชั้นป.๑-๔ มีแปดห้องเรียน มีครู ๘ คน วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๑ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงได้เปิดการสอนชั้นเด็กเล็ก ได้ขออนุญาตใช้ห้องเรียน และส่งนักศึกษาฝึกสอนมาช่วยสอน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โรงเรียนร่วมกับวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง ได้สร้างบ้านพักครู ๑ หลัง งบประมาณ ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

ภาพกิจกรรมโครงการ

ดีใจจังสำเร็จแล้ว

คุณแม่ของนักศึกษาเอกปฐมวัยเองค่ะ